Thailand Freediving
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

ความปลอดภัยในการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่ง

5 posters

Go down

ความปลอดภัยในการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่ง Empty ความปลอดภัยในการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่ง

ตั้งหัวข้อ  Marlin Thu Sep 17, 2009 11:17 pm

สวัสดีครับ ก่อนอื่นขอกล่าวความรู้สึกที่ได้เห็นเพื่อนๆ มารวมกลุ่มกันเล่นกีฬาที่ชื่นชอบร่วมกัน คือการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่งนี่ ทำให้รู้สึกยินดีอย่างมาก และรู้สึกชื่นชมน้องเน และอาจารย์ชัช ที่ได้รวมกลุ่มฝึกซ้อม และสร้างเวบไว้เป็นศูนย์กลางของพวกเรานะครับ

สิ่งหนึ่งที่เข้ามาในความคิดหลังจากได้ทราบว่าพวกเราได้มาร่วมกล่มฝึกซ้อมกัน คือเสียดายที่ไม่ค่อยมีเวลาไปร่วมด้วย (แต่จะพยายามนะครับ) และที่สำคัญคือเรื่องความปลอดภัยในการฝึกซ้อมครับ จากประสบการณ์ที่เป็นครูสอนว่ายน้ำ สอนการรักษาความปลอดภัยในน้ำ สอนดำน้ำแบบสกูบา ก็เข้าใจดีว่ากิจกรรมที่เราทำกันในน้ำจะต้องมีอันตรายแฝงอยู่ไม่มากก็น้อยครับ หลังจากเรียนฟรีไดวิ่งกับครูฟรังซัวร์ ก็พบว่าเนื้อหาวิชาที่เรียนไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่หนึ่งดาวจนถึงสามดาว (เท่าที่เรียนถึงนะครับ) ก็เป็นเรื่องการรักษาความปลอดภัยในการฝึกซ้อม มากกว่าการดำน้ำให้ได้มากกว่าเดิมครับ

ครูได้สอนผมไว้เรื่องการดูแลนักดำน้ำตั้งแต่ทำ Static Dinamic และ Constant Weight อันมีเทคนิควิธีการที่แตกต่างกันไปไว้หลายวิธี เพื่อนๆ ที่เคยไปเรียนก็คงรับทราบกันดี ผมก็เลยขอเชิญชวนพวกเราที่มีความรู้เรื่องเหล่านี้มาแบ่งปันกัน เพื่อนๆ ที่เข้ามาฝึกหัดแล้วยังไม่ได้เรียน จะได้รับทราบและทำการฝึกซ้อมด้วยความปลอดภัยกันต่อไปครับ
Marlin
Marlin

จำนวนข้อความ : 21
Join date : 04/09/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

ความปลอดภัยในการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่ง Empty Re: ความปลอดภัยในการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่ง

ตั้งหัวข้อ  Marlin Thu Sep 17, 2009 11:28 pm

ความปลอดภัยของการฝึก Apnea

การฝึกการดำน้ำตัวเปล่าต้องใช้ความมุ่งมั่นส่วนบุคคลสูงมาก แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องฝึกอย่างโดดเดี่ยว การฝึกซ้อมเป็นคู่นั้นเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น เช่นเดียวกับการฝึกและทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ต้องมีการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับน้ำ

สาระสำคัญของสิ่งที่ต้องรับรู้เกี่ยวกับการดำน้ำตัวเปล่า ก็จะมีเรื่อง
1. อันตรายของการกลั้นหายใจใต้น้ำ
2. เรื่องการทำ Hyperventilation
3. เรื่องของการ Pre-Blackout และการ Blackout
4. กฏระเบียบในการฝึกซ้อม เพื่อการดำน้ำให้ปลอดภัยและรื่นรมณ์
5. การรับประทานอาหารให้เหมาะสม อาการขาดน้ำ การป้องกันจากความหนาวเย็น

นอกเหนือจากห้าข้อที่กล่าวมาแล้ว วิชาอื่นๆ ที่จำเป็นต้องเข้าใจก็เห็นจะเป็นเรื่องของสภาวะจิตใจ เช่น
1. รู้จักและเข้าใจระดับจิตใจของตนเอง
2. สามารถรับฟังและตัดสินความคิดของตนเองได้
3. เรียนรู้ที่จะควบคุมปฏิกิริยาตอบสนองของตนเอง
4. เรียนรู้เรื่องการแยกแยะจิตสำนึกกับจิตใต้สำนึกของตนเอง
5. เข้าใจความคิดแง่ลบ ความคิดแง่บวก การตัดสินใจ และความสงสัย

ส่วนสุดท้ายคือ นักดำน้ำตัวเปล่าควรจะมีความสามารถในการทำ CPR หรือการผายปอดปั๊มหัวใจ ควรผ่านหลักสูตรเหล่านี้เสียก่อนที่จะเป็น Apnea Safety Diver อย่างสมบูรณ์ครับ
Marlin
Marlin

จำนวนข้อความ : 21
Join date : 04/09/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

ความปลอดภัยในการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่ง Empty Re: ความปลอดภัยในการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่ง

ตั้งหัวข้อ  Marlin Thu Sep 17, 2009 11:39 pm

ความปลอดภัย

เป็นหน้าที่ของนักดำน้ำแบบฟรีไดวิ่งที่จะต้องรู้จักกับความเสี่ยงของการดำน้ำแบบนี้ โดยมีเหตุผลสองประการ ประการแรกคือเพื่อให้สามารถรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินที่เกิดกับเพื่อนร่วมฝึกซ้อมได้ และประการที่สองคือทำให้เกิดพฤติกรรมปลอดภัยในการฝึกซ้อมฟรีไดวิ่งนั่นเอง ในระยะหลังมานี้ การศึกษาทางเวชศาสตร์การกีฬาได้ค้นพบเรื่องราวใหม่ๆ หลายอย่าง และพบว่าเทคนิคบางประการที่เราใช้กันในการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่งนั้นมีอันตรายร้ายแรงแฝงอยู่ เช่นเทคนิคการทำ Hyperventilation นั้น พบว่าเป็นต้นเหตุของการ Blackout จำนวนมาก

50 ปีที่แล้วนักดำน้ำชาวอิตาเลี่ยนได้นำเทคนิคการหายใจบางอย่างมาใช้ ซึ่งทำให้คนสามารถกลั้นหายใจได้นานกว่าเดิม และให้ชื่อเทคนิคนี้ว่า Hyperventilation อันเป็นที่นิยมในหมู่นักดำน้ำตัวเปล่า เช่นกลุ่มนักดำน้ำยิงปลา และบางกลุ่มยังได้ใช้เทคนิคเหล่านี้ตราบจนทุกวันนี้ โดยไม่รู้ว่ามีความเสี่ยงสูงมากเพียงใด

xxx ติดตามตอนต่อไป เพื่อนๆ มีความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ คำแนะนำ เรียนเชิญ Join เลยครับ xxx
Marlin
Marlin

จำนวนข้อความ : 21
Join date : 04/09/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

ความปลอดภัยในการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่ง Empty Re: ความปลอดภัยในการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่ง

ตั้งหัวข้อ  ghostpipe Fri Sep 18, 2009 8:22 am

ขอบคุณมากๆ ครับสำหรับความรู้

มาเขียนต่อเร็วๆ นะครับ และอย่าลืมข้อมูลเรื่องตารางน้ำที่ Hardeep ด้วยนะครับ เผื่อพวกเราจะได้ไปฝึกซ้อมที่เรือครูบ้าง
ghostpipe
ghostpipe

จำนวนข้อความ : 210
Join date : 17/08/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

ความปลอดภัยในการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่ง Empty Re: ความปลอดภัยในการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่ง

ตั้งหัวข้อ  Nae Sat Sep 19, 2009 4:43 pm

พอเห็นว่ามีคนสนใจมาซ้อมด้วยกันเพิ่มมากขึ้นกว่าที่เคยซ้อมด้วยกันสองคนสามคนก็รู้สึกดีใจเหมือนกันค่ะ
พอมีเว็บ มีฟอรั่มมันก็ดีอย่างนี้นี่เอง
เรื่องเว็บนี่ต้องขอบคุณแอนเดรียเลยค่ะพี่เบิ้ม แอนเดรียเป็นคนเริ่ม เนแค่ช่วยตั้งชื่อแล้วสานต่อ

อ่านแล้วเห็นภาพชัดเจนขึ้นเลยค่ะ ช่วยเตือนสติในการดำฟรีไดฟ์อย่างปลอดภัย เป็นประโยชน์มากๆ
บทความเกี่ยวกับฟรีไดวิ่งภาษาไทยหาอ่านยาก มีพี่เบิ้มคอยช่วยให้ความรู้กับเหล่าฟรีไดเวอร์อย่างนี้ดีไปเลย
Nae
Nae

จำนวนข้อความ : 90
Join date : 24/08/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

ความปลอดภัยในการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่ง Empty Re: ความปลอดภัยในการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่ง

ตั้งหัวข้อ  Marlin Mon Sep 21, 2009 11:11 pm

ก่อนจะเริ่มทำการดำน้ำลงไป นักดำน้ำจะทำการหายใจด้วยรูปแบบพิเศษ โดยจะหายใจถี่ แรง และเน้นเรื่องการหายใจออกอย่างรุนแรงเป็นเวลาอย่างน้อยสองนาที จนกระทั่งรู้สึกเวียนศีรษะและชาแปลบที่ปลายนิ้วมือนิ้วเท้า

มีนักวิทยาศาสตร์บางคนได้เห็นการหายใจแบบนี้แล้วรู้สึกว่ามีอะไรผิดพลาดและได้ทำการศึกษาถึงผลของมัน และได้ค้นพบว่านอกจากจะไม่ได้ผลอย่างที่ต้องการแล้ว ยังเป็นอันตรายร้ายแรงอีกด้วย เพราะระหว่างการทำ ไฮเปอร์ฯ นั้น ปอดไม่ได้ทำการสะสมออกซิเจนเพิ่มขึ้นกว่าการหายใจปกติแต่อย่างใด เพราะแค่หายใจสามครั้งลึกๆ ออกซิเจนในเม็ดเลือดแดงก็จะอิ่มตัว ไม่สามารถเข้าไปได้อีกต่อไปแล้ว เพียงแต่จะมีการลดระดับของคาร์บอนไดออกไซด์จนถึงขั้นอันตราย เพราะคนเราจะมีระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายที่เหมาะสมอยู่ระดับหนึ่ง

เมื่อเราเริ่มกลั้นหายใจ เราก็จะรู้สึกปกติอยู่ระยะหนึ่งในช่วงแรก จนกระทั่งเมื่อระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายเพิ่มขึ้น ระบบประสาทที่เชื่อมต่อกับเซลล์ที่คอยตรวจสอบระดับแรงดันก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สะสมในร่างกายจะสั่งให้ร่างกายกลับมาหายใจ หรือให้หยุดกลั้นหายใจ นั่นก็คือทำให้รู้สึกหิวกระหายที่จะหายใจนั่นเอง

แต่หากเราทำไฮเปอร์ฯ จนคาร์บอนไดออกไซด์มีน้อยมาก กว่าระดับคาร์บอนไดออกไซด์จะเพิ่มจนระบบประสาทของเราจับได้ แรงดันของก๊าซออกซิเจนในร่างกายก็จะน้อยจนเข้าสู่ภาวะวิกฤตแล้ว และอาจก่อให้เกิดการหมดสติใต้น้ำได้โดยไม่รู้ตัว

ในขณะเดียวกัน หากนักดำน้ำกำลังดำน้ำลึกอยู่ อาการหมดสติจากการทำไฮเปอร์ฯ ก็จะยิ่งถูกขยายให้มีผลมากขึ้น เนื่องจากเวลาอยู่ในความลึก นักดำน้ำจะรู้สึกสบายเพราะแรงดันของก๊าซออกซิเจนจะเพิ่มเนื่องจากความกดของน้ำ ขณะที่คาร์บอนไดออกไซด์ยังสะสมไม่พอ ทำให้ยังไม่อยากหายใจ อาการกระตุกของกระบังลมก็เกิดขึ้นช้ากว่าเดิม แต่เมื่อนักดำน้ำขึ้นมาสู่ที่ตื้น แรงกดดันน้ำที่ลดลงทำให้แรงกดดันของก๊าซออกซิเจนลดลงด้วย จนกระทั่งไม่พอที่จะทำให้นักดำน้ำครองสติได้จนถึงผิวน้ำ ทำให้เกิดอาการ Pre-Blackout หรือ Blackout ขึ้นได้

นอกเหนือจากนั้น การทำไฮเปอร์ ยังก่อนให้เกิดการเพิ่มของอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิตเพิ่ม และเพิ่มการเกร็งของกล้ามเนื้อ ซึ่งไม่ได้มีผลดีต่อการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่งเลย เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งตรงกันข้ามกับสภาวะ Dive Reflex ที่นักดำน้ำต้องการให้เกิดขึ้นเพื่อจะทำให้ดำน้ำได้นานกว่าเดิม การเกิดของ Dive Reflex นั้นต้องอาศัยการผ่อนคลายกล้ามเนื้อและการลดอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งไม่สามารถเกิดขึ้นจากการทำไฮเปอร์ฯ ได้

จาคค์ มาโยล (Jacques Mayol) นักดำน้ำระดับตำนานของวงการดำน้ำฟรีไดวิ่ง ได้กล่าวไว้ว่า "ใครก็ตามที่ทำการไฮเปอร์ฯ คนนั้นกำลังโกงตนเอง"

xxx จบเรื่อง Hyperventilation แค่นี้ โปรดติดตามเรื่องการ Pre-Blackout และ Blackout ต่อไปครับ xxx
Marlin
Marlin

จำนวนข้อความ : 21
Join date : 04/09/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

ความปลอดภัยในการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่ง Empty Re: ความปลอดภัยในการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่ง

ตั้งหัวข้อ  a-bad Mon Sep 21, 2009 11:52 pm

ขอบคุณครูเบิ้มครับ รออ่านต่อ

เดี๋ยวจะได้ไปเรียนเดือนหน้าแล้ว Very Happy
a-bad
a-bad

จำนวนข้อความ : 49
Join date : 24/08/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

ความปลอดภัยในการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่ง Empty Re: ความปลอดภัยในการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่ง

ตั้งหัวข้อ  Marlin Mon Sep 28, 2009 11:53 pm

Blackout

การทำงานของสมองเวลาปกติ จะต้องอาศัยก๊าซออกซิเจนและกลูโคสในปริมาณที่เพียงพอแก่ความต้องการ หากขาดสองอย่างนี้ไป สมองจะไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ก่อให้เกิดอาการหมดสติ ที่เราเรียกกันในหมู่นักดำน้ำฟรีไดวิ่งว่า Blackout อาการนี้มักตามมาด้วยการจมน้ำ และเสียชีวิตในที่สุด

สาเหตุของการเสียชีวิตในกรณีดังกล่าวไม่ได้เกิดจากการหมดสติ แต่เป็นเพราะนักดำน้ำไม่ได้ถูกช่วยเหลือทันท่วงทีทำให้น้ำเข้าไปอยู่ในปอด และทำให้ไม่สามารถทราบสาเหตุที่แท้จริงว่าหมดสติก่อนที่จะจมน้ำ ในบางกรณี มีการจมน้ำแบบ "แห้ง" นั่นคือน้ำไม่สามารถเข้าไปในปอดได้ เคยมีหลายรายที่ถูกช่วยเหลือจนคืนสติหลังจากจมอยู่ในที่ลึกเป็นเวลาหลายนาที แต่น้ำไม่ได้เข้าปอดเมื่อหมดสติไป

เมื่อเราทำการไฮเปอร์ และดำน้ำลงไป ช่วงแรกจะรู้สึกดีทำให้อยู่ได้นานได้มากจนออกซิเจนหมดจากร่างกาย หรือมีความดันน้อยมากแต่ทรงสติอยู่ได้จากแรงกดดันของน้ำที่ทำให้ partial pressure ของออกซิเจนมีมากพอโดยไม่มีปฏิกิริยาต้องการหายใจ (Breathing Reflex) กระบังลมไม่มีอาการกระตุกเตือน แต่เมื่อนักดำน้ำขึ้นสู่ความตื้น แรงกดดันของน้ำลดลง partial pressure ออกซิเจนก็ลดลงด้วย ที่เกือบจะไม่พออยู่แล้วก็เลยไม่พอเอาจริงๆ นักดำน้ำก็เลยหมดสติเมื่อขึ้นมาแล้ว หรือก่อนขึ้นถึงผิวน้ำนิดหน่อย (ระหว่าง 10-0 เมตร) แต่การ Blackout นั้นบางครั้งไม่ได้เกิดจากมีสติแล้วหมดไปทันที อาจจะมีอาการระหว่างกลาง ซึ่งมีอาการควบคุมกล้ามเนื้อตัวเองไม่ได้ ไม่รู้สึกตัวว่าหมดสติหรือยังมีสติ และมีอาการสั่น เต้น คล้ายกับท่าทางเต้นของชาวอเมริกาใต้ จนมีการตั้งชื่ออาการชักก่อนหมดสตินี้ว่า Samba และถือว่าเป็นอาการของการเกิด Pre Blackout นั่นเอง

นับว่าเป็นโชคดีของนักดำน้ำที่ ไม่ว่านักดำน้ำจะมีอาการก่อน หรือเกิดการสมดสติขึ้นมา หากฟื้นคืนสติขึ้นมาแล้วจะไม่มีอาการตกค้างหรืออาการข้างเคียงเกิดขึ้นแต่อย่างใด ตราบที่มีคนคอยดูแลความปลอดภัยให้จนนักดำน้ำฟื้นคืนสติขึ้นมาโดยไม่ได้สูดหายใจเอาน้ำเข้าปอดไป

อาการหมดสตินี้ บางทีเกิดจากการขึ้นจากน้ำเร็วเกินไป มีหลายครั้งที่มีอาการล๊อคของกรามทำให้ไม่สามารถหายใจเข้าได้หลังจากหมดสติ ต้องมีเครื่องมือเปิดกรามและเครื่องช่วยหายใจ รวมถึงออกซิเจนฉุกเฉินในการช่วยเหลือนักดำน้ำกรณีนี้

การชักก่อนหรือเมื่อหมดสตินี้ บางครั้งรุนแรงจนกระทั่งคนๆ เดียวไม่สามารถรับมืออยู่ อาจจะต้องใช้คนช่วยจับหลายคนในการช่วยไม่ให้นักดำน้ำจมน้ำไปจากการหมดสตินี้ ในหมู่นักดำน้ำระดับสูงที่เคยหมดสติ ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าอาการก่อนจะหมดสติมีหรือไม่ เนื่องจากพวกเขาจะจำไม่ได้ รวมถึงมีการศึกษาค้นพบว่า นักดำน้ำที่ผ่านการ Blackout มักจะไม่ยอมรับว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นกับตัวอง รวมถึงไม่รู้ตัวว่าได้รับการช่วยชีวิตมาได้ด้วย

วิธีการป้องกันการหมดสติมีดังนี้ คือต้องรู้ตัวและรู้ข้อจำกัดของตัวเองตลอดเวลา ไม่ฝืนทำเกินข้อจำกัดของตน รวมถึงเรื่องสำคัญที่สุด คือหายใจให้ถูกวิธีหลีกเลี่ยงการทำไฮเปอร์

การหายใจเวลาขึ้นมาก็เป็นเรื่องสำคัญในการป้องกันการเกิด Blackout คือเมื่อขึ้นมาถึงผิวน้ำ ให้หายใจออกนิดหนึ่งแต่ไม่จำเป็นต้องหมดปอด เพระหากหายใจหมดปอดอาจจะเสียหายจากการไม่มีก๊าซเหลือในร่างกาย และเป็นการเสียเวลาในการหายใจให้หมfปอด ให้หายใจออกนิดเดียวและรีบหายใจเข้ายาวๆ เพื่อให้ร่างกายได้รับออกซิเจนที่ขาดไปให้เร็วที่สุด

การหายใจออกต้องไม่รุนแรง ต้องค่อยๆ เพราะการหายใจออกรุนแรงจะทำให้ partial pressure ของออกซิเจนต่ำลงทันทีทันใดและนำไปส่การหมดสติได้ ควรให้หายใจออกนิ่มๆไม่ถึงครึ่งปอด และหายใจเข้าโดยเร็ว

xxxโปรดติดตามต่อไปครับxxx
Marlin
Marlin

จำนวนข้อความ : 21
Join date : 04/09/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

ความปลอดภัยในการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่ง Empty Re: ความปลอดภัยในการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่ง

ตั้งหัวข้อ  Nae Fri Oct 02, 2009 5:27 pm

ขอบคุณค่ะพี่เบิ้ม

อาการแซมบ้ากับแบลคเอาท์เป็นอาการที่พบเห็นได้ชินตาในหมู่ฟรีไดเวอร์
แต่ถ้าคนที่ไม่รู้จักอาจจะตกใจได้ เพราะเวลาขึ้นจากน้ำหลังจากกลั้นหายใจ ฟรีไดเวอร์จะหน้าซีดปากเขียว พอแซมบ้าตัวจะเริ่มสั่น ถ้าเข้าขั้นแบลคเอาท์ตัวอาจจะเกร็งชั่วครู่
ซึ่งอาจเป็นภาพพจน์อย่างหนึ่งที่ทำให้คนกลัวฟรีไดวิ่ง สงสัยอยู่ในใจว่าจะปลอดภัยแน่เหรอ??? ขึ้นมาแล้วต้องลำบากขนาดนี้มันสนุกตรงไหน??? (555)

แต่ตามที่พี่เบิ้มเขียนค่ะ ปลอดภัยแน่ถ้าไม่จมน้ำไปซะก่อน ไม่มีสารตกค้างด้วย

เนยังไม่เคยแบลคเอาท์ เคยแต่แซมบ้านิดหน่อยเวลาทำแม็กซิมั่มยาวๆ
พอโงหัวขึ้นจากน้ำแล้ว เหมือนจะควบคุมตัวเองได้แต่ตัวมันสั่นไปเองในตอนหลัง ควบคุมไม่ได้ง่ะ
บางคนสั่นแรงเหมือนเต้นแซมบ้าจริงๆ
มีบัดดี้คอยช่วยดูดีที่สุดค่ะ

--รออ่านตอนต่อไป--
Nae
Nae

จำนวนข้อความ : 90
Join date : 24/08/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

ความปลอดภัยในการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่ง Empty Re: ความปลอดภัยในการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่ง

ตั้งหัวข้อ  Marlin Fri Oct 02, 2009 10:56 pm

น้องเน

เขาว่ากันว่าแซมบ้าเป็น Pre Blackout ยิ่งถ้ากลัว กังวล เครียด ว่าจะ Blackout ตอนเกิดแซมบ้า ก็จะยิ่งทำให้ Blackout ได้ง่ายขึ้นครับ เวลาเรามีบัดดีคอยดูแล หากเราสามารถวางใจได้ว่าบัดดี้มีความสามารถและความรับผิดชอบพอที่จะดูแลชีวิตเรา อาการเครียดก็จะไม่เกิด การ Blackout ก็จะไม่เกิดขึ้นง่ายๆ เช่นกันครับ
Marlin
Marlin

จำนวนข้อความ : 21
Join date : 04/09/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

ความปลอดภัยในการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่ง Empty Re: ความปลอดภัยในการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่ง

ตั้งหัวข้อ  ghostpipe Sat Oct 03, 2009 11:48 am

เมื่อวานผม search ดู clip จาก You Tube เรื่อง black out แล้ว โดยเฉพาะ จากงาน FreeWC 2009

รู้เลยว่าการมี Buddy ดุแลมีความสำคัญขนาดไหน

แต่ที่สำคัญกว่านั้น ผมว่า ตัวเราเองต้องรู้ว่า limit ของตัวเราอยู่แค่ไหน

ต้องฝึกซ้อมและค่อยๆ ขยายช่วงเวลาของการดำ Freedive อย่างค่อยเป็นค่อยไป ช้าๆ

และไม่ push ตัวเองไปเกินกว่า limit ที่ตัวเองมีมากเกินไป
เพราะนั่นคือจุดที่จะทำให้เราเริ่ม Samba และถ้ามากกว่านั้นก็จะ Blackout

ที่สำคัญต้องผ่อนคลาย และควบคุมให้ จิตใจสงบ สบาย และมีความสุขกับการดำ

Natalia Molchanova บอกว่าถ้าจิตใจฉันสบายฉันจะดำต่อไป แต่ถ้าเมื่อไรใจไม่สบายก็จะขึ้นเลยไม่ดำต่อ

ผมจะยึดถือไว้เป็นแนวทางครับ

สงบ สบาย และมีความสุขกับการดำ Freedive ครับ
ghostpipe
ghostpipe

จำนวนข้อความ : 210
Join date : 17/08/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

ความปลอดภัยในการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่ง Empty Re: ความปลอดภัยในการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่ง

ตั้งหัวข้อ  Mee+ Wed Oct 07, 2009 10:19 am

บันทึกเหตุการณ์และความรู้สึกเอาไว้เป็นอุทาหรณ์สำหรับคนไม่เคย LMC, Samba, Blackout
ผมเคยมา 3ครั้งแล้ว
ครั้งแรก ตอนเรียนAIDA**กับFrancois

วันนั้น เป็นวันที่3 ของการเรียน เป็นบ่ายที่อากาศดีท้องฟ้าแจ่มใส Laughing จำไม่ได้ว่าเป็น เกาะดอกไม้ หรือ sharkpoint สายดิ่งทิ้งลงไปที่ 18ม. ผมก็ FIM สาวเชือกสลับกับเคลียร์หูลงไปจนสุด รู้สึกว่าเป็น18ม.เป็นครั้งแรกของผม "อึดอัดแต่ยังทนไหวน่า Shocked ขอดูวิวซักเดี๋ยวละกัน" ผมคิด กวาดตาดูรอบนึงแล้วพุ่งขึ้น Francois มาeye contact ตลอดขาขึ้น จำได้ว่าเห็นและรู้สึกว่าถึงผิวน้ำแบบเต็มกลั้น No แล้วจากนั้นความคิดก็เหมือนเหม่อลอย รุ้ตัวอีกทีก็คือ "สงสัย? ทำไมFrancoisต้องมาประคองตัวเรานะ?? confused Question "

ครั้งที่2 ตอนซ้อมที่แสมสารกับครูเิ้บิ้ม คุณนิปปอน และฝรั่งๆ ถ้าเรื่องจริงผิดไปจากที่เขียน ครูเิ้บิ้ม คุณนิปปอนช่วยแก้ด้วย

วันนั้นวันแรงงานตอนสายๆ ฝนปรอยฟ้าครึ้ม แต่คนฮึกเหิม เพราะเพิ่งเรียนจบAIDA** แต่ไม่มีโอกาสซ้อมเลยร้อนวิชา สายดิ่งทิ้งลงไปที่ 25ม. สลับกันดำตามสายดิ่งตามที่ร่ำเรียนมา แรกๆลงไปได้ซัก 22ม.มั้ง ปัญหาคือเคลียร์หูแบบValvasaได้ช้าเลยลงช้า ห้อยอยุ่ท้ายเรือพักครุ่นึง "ลองลงอีกทีวะ" เคลียร์หูได้เร็วขึ้น เห็นพี้นทรายลางๆครั้งนี้ ดู divecom 24ม.กว่า "ไม่เลว ขอเอามือแตะพี้นนิดนิดละกัน อยากรุ้ว่าพื้นมันลึกกี่ ม. ? Rolling Eyes " ลงต่ออีกนิดเพื่อเอามือแตะพื้น ทีนี้จากนั้นก็เหมือนเหตุการณ์ครั้งแรก จำได้ว่าเห็นและรู้สึกว่าถึงผิวน้ำแบบเต็มกลั้น confused แล้วจากนั้นความคิดก็เหมือนเหม่อลอย รุ้ตัวอีกทีก็คือ "สงสัย? ทำไมครูเิ้บิ้มต้องมาประคองตัวเรานะ??"

ครั้งที่3 ตอนเรียนF.R.E.E.ที่เกาะเต่า

วันนั้น เป็นวันที่2 ของการเรียน เป็นบ่ายที่อากาศดีท้องฟ้าแจ่มใส สายดิ่งทิ้งลงไปที่ 35ม. head up FIM เคลียร์หูแบบFrenzel ลงไปที่ 29ม.แบบชิวๆ ที่ลงต่อไม่ได้เพราะไม่อากาศพอเคลียร์หน้ากาก เลยกลับขึ้นมาทุกอย่างดูเพอร์เฟ็ค Laughing "ลองhead downดูดีกว่า ว่าจะชิวเหมือนกันไม๊?? Very Happy " พอพักได้ที่ก็เลยสาวเชือก head downลงไป ผ่านจุด neutral buoyancy ที่ 10ม. divecom ร้องปี้ดเตือนให้ปล่อยตัว freefall แต่มาหยุดกึกที่ 23ม. เพราะเคลียร์หูไม่ออก พยายามอยู่พักนึงเคลียร์ไม่ลงตัว pale "ที่เคลียร์ไม่ออกน่าจะเกี่ยวกับhead down" ตัดสินใจกลับตัวแต่ไม่กลับใจ head up ลงต่อ Monica ที่มาช่วยเป็นsafety diver เริ่มมาวนเวียนจ้องหน้าแล้ว ได้อีกซัก 2 -3ม.ก็เคลียร์ไม่ออกอีก "ทำไมลงไม่ถึง 29ม.เท่าครั้งก่อน??" คราวนี้กลับใจพุ่งขึ้น Mad อีกแล้ว เหมือนครั้งก่อนๆ รุ้สึกว่าถึงผิวน้ำแล้วความคิดแบบเหม่อลอยก็เกิด มารุ้สึกตัวว่ามือเท้ากระตุกๆแล้ว Monicaก็เข้ามาประคอง


แก้ไขล่าสุดโดย Mee+ เมื่อ Thu Oct 08, 2009 5:51 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
Mee+
Mee+

จำนวนข้อความ : 105
Join date : 24/08/2009
ที่อยู่ : Bangkok

ขึ้นไปข้างบน Go down

ความปลอดภัยในการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่ง Empty Re: ความปลอดภัยในการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่ง

ตั้งหัวข้อ  a-bad Wed Oct 07, 2009 9:45 pm

มันน่ากลัวตรงที่อาการเกิดได้แบบไม่มีอาการเตือนนี่ล่ะครับ Cool

ติดตามต่อ Very Happy
a-bad
a-bad

จำนวนข้อความ : 49
Join date : 24/08/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

ความปลอดภัยในการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่ง Empty Re: ความปลอดภัยในการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่ง

ตั้งหัวข้อ  Marlin Thu Oct 08, 2009 1:35 am

เรื่องการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่งก็ทำให้ได้เรียนรู้เรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งครับ คือการผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ เพราะหากเราไม่ผ่อนคลายแล้ว ลงก็ยาก ตอนขึ้นก็จะพาลหมดสติหรือเกือบๆ หมดสติเอาได้ง่ายๆ

เลยไม่น่าสงสัยว่าทำไม Tiger Woods ถึงมาเรียนฟรีไดวิ่ง เพราะมันสอนให้เขาผ่อนคลายภายใต้ความกดดันได้นั่นเองครับ

จำได้ว่าตอนแข่งที่เกาะลันตา ตอนซ้อมลงยาก เคลียร์หูก็ยาก เพราะตอนซ้อมเราไม่ได้ทำ Routine เหมือนก่อนแข่งครับ ตอนซ้อมก็ดำๆ ไป กว่าจะลงไปถึงยี่สิบเมตรนี่ยากเหลือทน (ตอนนั้นหยุดซ้อมไปหกเดือน ไม่กล้าลงถึง PB) แต่พอตอนแข่ง ผมก็ต้องทำ Routine ซึ่งประกอบไปด้วยการผ่อนคลายเป็นหลักขณะที่เกาะเชือกก่อนจะดำลงไป เคลียร์หูก็ง่ายทุกครั้ง ระยะยี่สิบสามเมตรที่เรียกไปนั่นลงไปได้นั้นรู้
สึกเหมือนดำแค่ห้าเมตรน่ะครับ หลังจากนั้นตอนซ้อมก็เลยพยายามทำการผ่อนคลายก่อนทุกครั้งครับ

ส่วนตอนขึ้นนั้น หากไม่ผ่อนคลายมันจะอึดอัดเต็มทนครับ แต่หากผ่อนคลายไม่ต้องคิดมากว่าจะขึ้นถึงหรือเปล่า มันกลายเป็นสบายอย่างกับไม่ได้อยู่ในโลก เหมือนล่องลอยบนสรวงสวรรค์ไปนั่นน่ะครับ

สรุปว่าหากฝึกผ่อนคลาย จะดำได้ดีขึ้น และปลอดภัยขึ้นครับ

ส่วนเรื่องที่พี่ Mee+ เล่ามานั้น ทำให้ทราบว่าใครเป็นผู้มีประสบการณ์สูงที่สุดในหมู่เรานะครับ Very Happy วันนั้นพี่ดูเป็นปกติมากเลยครับ ท่าทางใจเย็นขึ้นนิ่มๆ ดูสบายๆ นะครับ
Marlin
Marlin

จำนวนข้อความ : 21
Join date : 04/09/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

ความปลอดภัยในการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่ง Empty Re: ความปลอดภัยในการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่ง

ตั้งหัวข้อ  Mee+ Thu Oct 08, 2009 6:15 pm

ครูเบิ้มครับ ผมลองวิเคราะห์สาเหตุเผื่อจะลดโอกาสเกิดวูบอีก "ทำไมก่อนวูบไม่รู้สึกอาการ contraction ก่อน ??"
1. อาจจะเพราะ Recovery breath "ลมหายใจแรกเมื่อพ้นผิวน้ำ" แทนที่จะหายใจออกไม่เกินครึ่งแล้วหายใจเข้า ผมกลับปล่อยอากาศที่อัดในปอดออกเกือบหมดด้วยความเคยตัว จนO2 ที่ต่ำอยู่แล้วยิ่งลดฮวบฮาบ ?
2. หรือว่า Warm up Breath ถึงแม้จะไม่Hyper แต่การหายใจลึกและนาน(เกินไป?) อาจทำให้CO2ลดต่ำ จนไม่เกิด contraction ?
3. ไม่งั้นก็ตัวผมเองด้านชาต่อ contraction ? Very Happy
Mee+
Mee+

จำนวนข้อความ : 105
Join date : 24/08/2009
ที่อยู่ : Bangkok

ขึ้นไปข้างบน Go down

ความปลอดภัยในการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่ง Empty Re: ความปลอดภัยในการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่ง

ตั้งหัวข้อ  Marlin Thu Oct 08, 2009 11:38 pm

พี่ Mee+ Contraction ไม่ได้เกิดกับทุกคนครับ บางคนก็ไม่เกิด หรือเกิดช้า ยิ่งหากทำ Hyper ด้วยก็ยิ่งเกิดช้ามากขึ้น ผมว่าสำหรับพี่ อาจจะเป็นลักษณะส่วนบุคคลที่ทำให้เกิดช้า คงไม่ได้เกิดจากการทำ Hyper หรอกครับ

อีกอย่างพี่เป็นคนลักษณะจิตใจแข็งแกร่ง จะไม่ค่อยยอมแพ้ง่ายๆ (คล้ายน้องเนเลย) บุคลิกนี้อาจทำให้ทำได้มากกว่า แต่ก็มีความเสี่ยงสูงกว่าครับ

สำหรับความเห็นของพี่ ผมเห็นด้วยกับข้อแรก ที่พ่นลมหายใจออกจนหมด ระดับความกดดันของอ๊อกซิเจนในร่างกายก็ลงฮวบเลย หากเกิด Blackout หลังจากลมหายใจแรกทุกครั้ง ก็น่าจะสัณนิษฐานได้ว่าเกิดจากเหตุนี้แหละครับ ส่วนเรื่องการอาจจะทำ Hyper โดยไม่รู้ตัวนั้น น่าจะเป็นไปได้ยากครับ เพราะการทำ Hyper นั้นจะทำจนมึน ชาที่ปลายมือปลายเท้าไปหมด ไม่ใช่แค่สองสามลมหายใจลึกๆ หรอกครับ

สรุปว่าต้องมีบัดดี้ที่เชื่อใจได้ มีความสามารถในการดูแลสูง ไว้ดำด้วยกันนั่นแหละครับจะดีที่สุด

วันไหนไปซ้อมด้วยกัน เราก็ฝึกทบทวน Safety Protocal กันให้คล่อง คนที่ยังไม่ได้เรียนก็จะได้รู้ด้วยน่ะครับ ตอนเรียนกับฟรังซัวร์ ฝึกลงไปทำเซฟตี้ที่สิบเมตร พาคนหมดสติขึ้นมา แล้วลากขึ้นเรือ ยังจำได้เลยครับว่าเหนื่อยสุดๆ

เรื่องเซฟตี้ในทะเลพอจำได้หมดครับ ในสระนี่ต้องทบทวนนิดหนึ่ง ผมว่าที่น่ากลัวคือตอนทำ Dynamic กันนั่นละครับ เซฟไม่ง่ายนะครับ
Marlin
Marlin

จำนวนข้อความ : 21
Join date : 04/09/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ